วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

wallpaper

สื่อสารเป็นเลิศ อัต ลักษณ์ครูยุคใหม่



สังคมออนไลน์ มหันตภัย ที่ใกล้ตัว




วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ออกแบบ wallpaper



Templete หน้าขอบคุณ (หน้าสุดท้าย)

ภาษาไทย

แบบที่ 2



แบบที่ 3



แบบที่ 4



แบบที่ 5



ภาษาอังกฤษ

แบบที่ 2



แบบที่ 3



แบบที่ 4



แบบที่ 5

Templete เนื้อหา

ภาษาไทย

แบบที่ 2



แบบที่ 3



แบบที่ 4



แบบที่ 5



ภาษาอังกฤษ

แบบที่ 2



แบบที่ 3



แบบที่ 4



แบบที่ 5

Templete

ออกแบบ Templeteหน้าแรก

ภาษาไทย

แบบที่ 2



แบบที่ 3



แบบที่ 4



แบบที่ 5



ภาษาอังกฤษ

แบบที่ 2



แบบที่ 3



แบบที่ 4



แบบที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ออกแบบ Templete สำหรับใช้กับ Power Point

1. หัวเรื่อง


แบบ ภาษาไทย





แบบภาษาอังกฤษ


2. ส่วนเนื้อหา






แบบ ภาษาไทย





แบบภาษาอังกฤษ

3. จบการนำเสนอ






แบบ ภาษาไทย





แบบภาษาอังกฤษ

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

ออกแบบโปสเตอร์

งานที่ 1 รณรงค์ให้งดสูบบุหรี่ในสถานศึกษา ใช้สีแบบ Monochrome



งานที่ 2 รณรงค์การใช้ 13 ฟอนต์แห่งชาติ ใช้สีแบบ Triads



งานที่ 3 รณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัย ใช้สีแบบ Analogus



งานที่ 4 รณรงค์มารยาทไทย การไหว้ ใช้สีแบบ Dyads



สุดท้าย หัวข้ออิสระ ใช้สีแบบ Tetrads

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

การออกแบบโปสเตอร์


ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี

1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล
8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและที่สำคัญตรงประเด็น


ส่วนประกอบของโปสเตอร์




ขั้นตอนการออกแบบโปสเตอร์


1. ศึกษารายละเอียดและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นที่ต้องการสื่อสาร
2. นำข้อมูลที่ต้องการสื่อสารมาออกแบบร่าง
3. เลือกรูปแบบและการวางผัง (Layout) ที่เหมาะสมกับงาน
4. ทำการวางแบบเลย์เอ้าท์ นำส่วนประกอบต่างๆมาลองวางลงในหน้ากระดาษ เพื่อดูว่ามีมากพอหรือไม่ ต้องการเพิ่มเติมส่วนใด หรือต้องตัดอะไรออก ดูความเข้ากันของส่วนประกอบทั้งหมดโดยใช้องค์ประกอบศิลปะช่วยในการจัด
5. กำหนดลักษณะของส่วนประกอบต่างๆของงานที่เหมาะสม เช่น แบบ ขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหา
6. การทำต้นฉบับเหมือนพิมพ์ อาร์ตเวิร์ค (artwork) นำแบบร่างที่ลงตัวถูกต้องแล้ว มาทำให้เป็นขนาดเท่าของจริง ทั้งภาพและตัวอักษร ช่องไฟ และงานกราฟิคทุกอย่าง ซึ่งปัจจุบันจะใช้โปรแกรมจัดทำอาร์ตเวิร์คเช่น Adobe Indesign, Illustrator เป็นต้น
7. ทำการตรวจทาน ดูความถูกต้องของภาษา ความเหมาะสมของรูปภาพ และการจัดวาง
8. แก้ไขรายละเอียดและปรับแต่งขั้นสุดท้าย นำส่งโรงพิมพ์เพื่อทำการจัดพิมพ์ต่อไป


หลักการออกแบบโปสเตอร์



1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง
2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป
3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ
4. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.
5. ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา



การออกแบบกราฟิกบนโปสเตอร์






โปสเตอร์ มีข้อความแสดงชื่อเรื่องที่ชัดเจน ตัดกับภาพพื้นหลัง ตัวหนังสือใหญ่ เหมาะกับการเป็นหัวหลัก การจัดองค์ประกอบภาพกำลังดี ดูเรียบๆไม่แน่นมากจนเกินไป ทำให้ดูสบายตา ภาพดปสเตอร์นี้เน้นสีโทนทึบทำให้ดูสบายตา สีไม่โดดกัน กลมกลืนกันหมด ระยะเว้นขอบมีปัญหาด้าน ล่างและด้านขวา ไม่ได้เว้นระยะห่าง ตัวหนังสือติดขอบมากเกินไป ภาพบ่งบอกกับว่า เป็นหนังแอ็คชั่น ซึ่งสรอดคล้องกับชื่อเรื่อง และเหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง

การวางโครงสร้างสี

การใช้สี คือ การนำเอาสีไปใช้ในงานออกแบบ หลายคนไม่รู้จะใช้สีอย่างไรดี ทำให้งานดี ๆ ของเขาออกมาเสียหมดดังนั้นจึงมีทฤษฎีของการใช้สี หรือการเลือกสีมาใช้ร่วมกันในภาพ เพื่อให้ภาพออกมาดูดี ดูน่าพึงพอใจเรียกว่า Colour Schematic หรือการวางโครงสี

Monochrome

Monochrome หรือโครงสีเอกรงค์ คือมีเนื้อสี Hue เดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสีValue สีเอกรงค์นี้ ให้อารมณ์ ความรู้สึก สุขุม เรียบร้อยเป็นสากล ไม่ฉูดฉาดสะดุดตา และในด้านการออกแบบเป็นการใช้คู่สีที่ง่ายที่สุด แล้วออกมาดูดี

Analogus



Analogus หรือโครงสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน อยู่ข้างเคียงกัน ในวงจรสี จะเป็นที่ละ 2 หรือ 3 หรือ 4 สีก็ได้ แต่ไม่ควรมากกว่านี้เพราสีอาจจะหลุดจากความข้างเคียง

Dyads



Dyads หรือโครงสีคู่ตรงข้าม Complementary Colour คือสีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงจรสี การเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมองแต่ก็ต้องระวังการใช้สีคู่ตรงข้าม ถ้าเราหยิบสี 2 สีที่ตรงข้ามกันมาใช้ในพื้นที่พอ ๆ กัน งานนั้นจะดูไม่มีเอกภาพ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการทำงานศิลปะทางที่ดีเราควรแบ่งพื้นที่ของสีในภาพ




Triads หรือโครงสี 3 สี



1. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 เท่ากัน ถ้าเราลากเส้นระหว่างสีทั้ง 3 สี เราจะได้สามเหลี่ยมด้านเท่า


2. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 ไม่เท่ากันคือมีช่วงห่าง 2 ช่วงเท่ากัน แต่กับอีกอันหนึ่งช่วงห่างจะยาวกว่า ถ้าลากเส้นระหว่างสีแล้วจะได้สามเหลี่ยมหน้าจั่ว

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

work 1

เริ่มหัดทำการเน้นภาพ


ภาพแรก เริ่มจากศิลปินที่ปลื้ม....






ภาพที่ 2 งานประเพณีสงกรานต์
อย่าลืม!! รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่กันนะจร้า

กิจกรรมที่ 1 เปิดโลก Computer Graphic

Graphi คืออะไร ??? Graphi มีที่มาจากคำใน ภาษากรีก คือ Graphikos ที่แปลว่า "การวาดเขียน และเขียนภาพ“ หรือคำว่า "Graphein" ที่แปลว่า "การเขียน" Graphi เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่แสดงออกด้วยความคิดอ่าน ที่ต้องอาศัยศิลปะ และศาสตร์ เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิด และตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คืออะไร??? คือ กราฟิกที่นำคอมพิวเตอร์มาดำเนินการ ตั้งแต่การเตรียมการ ออกแบบ นำเสนอ ใช้งาน ความสำคัญของกราฟิค *เกิดการเรียนรู้ การศึกษา *เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ *กระตุ้นความคิด *ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ *ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด ระบบสี ( Color Model )

ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Additives สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน ( Blue)


ระบบสี Subtractive


ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK)


ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก


1. Photo Retouching โปรแกรมที่เหมาะสำหรับการแก้ไข ตกแต่งภาพ และ ทำเอฟเฟกต์ให้กับภาพ ที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งอาจจะ มาจากภาพถ่ายจริง ได้แก่ Adobe PhotoShop, Corel Photopaint, PaintShop


2. Graphic Illustrator โปรแกรมสำหรับการออกแบบงานกราฟิก หรืองาน Lay out ซึ่งเป็นงาน สองมิติ มีการเขียนรูปในลักษณะการเน้น เส้นเน้นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งไม่ใช่รูปถ่ายได้แก่ Adobe Illustrator, CorelDraw



3. Computer Aided Design โปรแกรมสำหรับการเขียนภาพที่แสดงออกถึงมิติ ขนาด ที่ ให้ความชัดเจนของวัตถุที่ต้องการสร้างขึ้นมา ได้แก่ Auto CAD, Prodesign 4. 3D Photo Realistic โปรแกรมที่สามารถสร้างภาพสามมิติ ที่มีมวลและปริมาตร และมีคุณสมบัติของพื้น ผิว จนเกิดความสมจริงของแสง และเงา ได้แก่ 3D studio MAX, Auto CAD 3D 5. Presentation โปรแกรมกราฟิก สำหรับช่วยในการนำเสนองาน ใน ลักษณะเป็นสไลค์ประกอบคำ บรรยาย มีการสร้างภาพ กราฟฟิกที่ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น 6. Animation เป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวตามลำดับ โปรแกรมจะ แสดงภาพเป็นลำดับให้ แลดูเหมือนภาพเคลื่อนไหว โดย มีเทคนิคต่างๆ



ความคาดหวังของรายวิชา


หวังว่าจะได้รับความนรู้เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิค และ สามารถใช้โปรแกรมต่างๆทำคอมพิวเตอร์กราฟิคออกมาได้ดี และสามารถนำความรู้จากการเรียนวิชานี้ไปเผยแพร่ และ ประยุกต์ใช้กับงานในอนาคต และชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม